การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเชิงนิเวศน์ ถือเป็นการท่องเที่ยวเพื่อเข้าไปสัมผัสธรรมชาติและเพื่อการเรียนรู้ธรรมชาติ กิจกรรมหรือกำหนดการของนักท่องเที่ยวจึงมีความสำคัญ ต้องเป็นไปอย่างเรียบง่ายสอดคล้องกับธรรมชาติโดยไม่ส่งผลกระทบต่อป่าและ สัตว์ป่า โดยเฉพาะเยาวชนที่จะได้เรียนรู้ธรรมชาติอย่างเป็นระบบถูกต้องโดยนักสื่อความหมายทางธรรมชาติ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์มีหลักการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือจำนวนของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเป็นพื้นที่ที่มี ความเปราะบาง มีความสำคัญต่อสัตว์ป่า ซึ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเป็นจำนวนมากในคราวเดียวหรืออาจเข้าไปจำนวน น้อยแต่หลายครั้ง ก็จะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติได้

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย

เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ คือต้องการอนุรักษ์สภาพธรรมชาติของพื้นที่ให้คงอยู่ตามธรรมชาติ ป้องกันการรบกวนโดยมนุษย์โดยเฉพาะทรัพยากรที่สำคัญ เช่น สัตว์ป่า พืชพรรณ และลักษณะธรรมชาติที่สวยงามเป็นพิเศษ รวมทั้งแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญเพื่อการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากในเขตอุทยานแห่งชาติมีทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะกับการใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดความสุขกายสุขใจ และช่วยผ่อนคลายความเครียดจากการปฏิบัติงานประจำ เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย พื้นที่อุทยานแห่งชาติ สามารถจัดเป็นห้องทดลองทางธรรมชาติกลางแจ้ง ที่สามารถค้นคว้าวิจัยไม่มีที่สิ้นสุดของนักศึกษา นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในปัจจุบัน

ยังมิได้นำหลักการของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ไปปฏิบัติได้อย่างจริงจังในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งทำให้แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเกือบทุกแห่งเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวยังขาดความรู้ในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์หรือในบางคณะยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก ผู้จัดการท่องเที่ยวยังขาดความรู้และทักษะการจัดการในการจัดกิจกรรมในพื้นที่ทางธรรมชาติ และองค์กรที่รับผิดชอบพื้นที่ธรรมชาติดังเช่น กรมป่าไม้ ยังขาดความชัดเจนในด้านนโยบายและแผนปฏิบัติการณ์ที่จะควบคุมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้อยู่ในความเหมาะสมได้

การปฏิบัติตนในอุทยานแห่งชาติ

1. ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบขอทางอุทยานฯ ที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
2. ดูแลรักษาสภาพธรรมชาติให้คงความงดงามตามธรรมชาติมากที่สุด
3. ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นในการเข้ใจพื้นที่ธรรมชาติร่วมกัน
4. ไม่ส่งเสียงดัง อันจะเป็นการรบกวนผู้อื่นหรือรบกวนความเป็นอยู่ของสัตว์ป่า
5. การเดินป่าศึกษาธรรมชาติควรเดินตามเส้นทางที่กำหนดไว้ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทาง เดินถาวร ซึ่งอาจจะไปเหยียบย่ำพืชพรรณหรือสัตว์เล็กๆ
6. ห้ามเก็บ หรือนำออก หรือกระทำการใดๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อสภาพของก้อนหิน พืชพรรณ และสัตว์ป่าในเขตอุทยาน
7. ห้ามนำสัตรว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ เพราะอาจจะเป็นการนำโรคเข้าไปแพร่ในธรรมชาติ
8. ไม่ควรก่อไฟในอุทยานฯ เพราะการก่อไฟจำเป็นจะต้องใช้พืชในธรรมชาติ และก่อเกิดมลพิษ
9. ไม่ควรนำสิ่งที่จะก่อให้เกิดขยะเข้าไปในอุทยานฯ
10. เมื่อพบเห็นการทำผิดกฏระเบียบอุทยานฯ หรือการกระทำอันเป็นผลกระทบต่อธรรมชาติ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานฯ เพื่อดำเนินการต่อไป
11. ร่วมกันชักชวนให้เพื่อฝูง หรือเพื่อนร่วมทาง ช่วยกันดูแลรักษาธรรมชาติ